ชื่อนั้นสำคัญไฉน

 

                                                                                                                                                  นพ. สุวัฒน์ สุวรรณวานิช

  

แบคทีเรียเป็นเชื้อโรคที่ทำให้คนติดเชื้อโรคจนตายกันมากมายในสมัยโบราณจนถึง

เมื่อไม่นานมานี้ ในสมัยก่อนนั้น อันดับหนึ่งก็ตายจากโรคปอดบวมนี่แหละ อันดับต่อมา ก็คือโรคท้องเดิน บาดแผลต่าง ๆ  โรคติดต่อ ก็ต้องยกให้ กาฬโรค ฝีดาษจากเชื้อไวรัส โรคไข้ราดสาด ทีบี ยังเป็นแค่น้อง ๆ ซิฟิลิสก็ชอบเกิดในพวก ซุกซนทางเพศ

โรคที่ทำให้ค้นคว้าหายารักษากันจริงจัง ก็คงโรคผู้หญิง เพราะมันเกิดในผู้ดีแปดสาแหรก ที่ชอบสำส่อน (ใช่แล้วครับ เพราะผู้ดีเขาชอบสังคมกัน การสังคมก็มีโอกาสสำส่อนนั่นแหละ ดังนั้น ซตพ. พวกไฮโซก็คือ พวกชอบสังคมและสำส่อนรวม ๆ กันไปด้วย)

ท่านผู้อ่านคงรู้จักโรคเข้าข้อออกดอก Syphilis ซึ่งเกิดจากความสำส่อนทางเพศ การ รักษา ด้วยยาตัวนี้ เมื่อสามสี่ร้อยปีก่อนหน้านั้น การรักษาก็ด้วยการดมไอของสารปรอท Mercury ซึ่งมีพิษมาก โดยให้คนไข้เข้าห้องอบ แล้วเผาสารปรอทให้เป็นควัน คนไข้ก็ต้อง สูดสารนี้เข้าปอดในห้องที่มีอากาศน้อยมาก  ด้วยความที่ยังไม่รู้เรื่องของอ๊อกซีเจ้น ซึ่งเป็นสาร ที่ทำให้เราหายใจ คนไข้อบอยู่ในห้องไอพิษสารปรอท ก็ตายไปมากเพราะขาดอากาศ (เรื่องสูดไอปรอทนี้มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ของพระเจ้า จินสีฮ้องเต้ ที่รวมประเทศจีน เป็นประเทศเดียว เนื่องจากดมสารนี้ และกินยาที่เข้าสารปรอท นาน ๆ เข้า ระบบต้านทาน โรคก็อ่อนแอลง เลยทำให้ต้องตายจากโรคไข้หวัดธรรมดา ตอนออกตรวจรชการต่างเมือง ทั้ง ๆ อายุยังแค่ สี่สิบกว่าเท่านั้น)

นอกนี้ก็ตายจากหัวใจล้มเหลว ด้วยต้องเข้าห้องอบปรอทนี้ หลาย ๆ วัน คนไข้ก็ขาดน้ำ ไปด้วย ถ้าไม่ตายช่วงที่อบและดมสารนี้หลายครั้ง ก็มีอาการ ผมและฟันล่วง ขาดเลือด โรคไต และตับล้มเหลว หรือพังหมด ตายเหมือนกันแต่ช้าหน่อย ไม่ต้องกลัว การอบและหายใจ ด้วย สารปรอทนี้มันเมื่อสามสี่ร้อยปีที่แล้ว ไม่มีใครเขารักษากันแบบนี้อีกแล้ว

โรคซิฟิลิสนี้มันระบาดมาก ช่วงที่โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา แล้วลูกเรือที่ไปสำส่อน กับผู้หญิงอินเดียนแดงเข้า แล้วนำเอาโรคนี้กลับมาแพร่หลายในยุโรป เข้าใจว่าโรค ซิฟิลิส นี้มันมีอยู่ก่อนโคลัมบัสแล้ว แต่ฤทธิ์มันไม่แรง พบคนยุโรปเอาโรคนี้ไปให้ชาว อินเดียนแดง มันเลยแพร่กระจายในทวีปอเมริกามากและรุนแรงกว่าเดิมมาก ลูกเรือไปเจอ เชื้อที่ปันแปร ความรุนแรง เมื่อนำกลับมาบุโรป มันเลยรุนแรงและแพร่ได้ง่ายและเร็ว ไปเกือบทั่วยุโรป

เนื่องจากการอบและดมปรอทนี้มันอันตรายมาก ก็มีนักเคมีชาวเยอรมัน ชื่อ Paul Ehlich ในปี 1910 ค้นพบยาตัวใหม่ ชื่อว่า Salvasan แต่มันมีพิษมาก ก็มันทำมาจากสารหนู Arsenic กับสารสีย้อมผ้า เขาไว้รักษาโรคเข้าข้อออกดอกและโรคไทกอ โรคเรื้อน Leprosy เท่านั้น มันก็ฆ่าทั้งแบคทีเรียและคนกินพร้อม ๆ กันไปด้วย ซึ่งมันทำอันตรายต่อกระเพาะ ลำไส้ ปอด ไต และตับพอ ๆ กัน แต่แปลกแฮ มันทำให้อาการน้อยลง และแพร่กระจายน้อยลงด้วย

เนื่องจากการค้นพบสารยาสีย้อมผ้า ซึ่งกำลังค้นคว้ากันหนัก  และต่างก็คิดว่าตัวใด ตัวหนึ่ง อาจจะรักษาโรคได้ จึงทำให้มีการค้นพบยาซัลฟา Sulfanilamide ซึ่งได้จาก ผลิตผล ของสีย้อมผ้า Prontosil red

การค้นพบครั้งนี้ เกิดเมื่อปี ค.ศ.1930 การรักษาครั้งแรกนั้น มันเป็นการเสี่ยงต่อชีวิต ของ ลูกสาวของหมอคนหนึ่ง ชื่อว่า Dr. Gerhard Dogmark โดยไม่มีการทดลองมาก่อน ว่ามัน จะปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์หรือไม่

ที่หมอ Dogmark (คงไม่ใช่แปลว่ารอยหมากันนะครับ) กล้าเสี่ยง เพราะลูกเป็นโรคพิษ ของเชื้อโรค Septicemia อันเกิดจากถูกของสกปรกตำเอา  แล้วเชื้อโรคเลยลามไปทั่วตัว ทีแรกเชื่อว่าฉีดยาตัว Prontosil red แล้วสีมันเข้าไปในเลือด แล้วไปย้อมให้ตัวเชื้อโรค เป็น สีแดง อ้ายสีแดงนี้จะทำให้มันตาย โรคก็หาย แต่เปล่าครับ ที่ฆ่าเชื้อโรคนั้นเพราะ ตัวสีแดง นี้พอเข้าร่างกาย ก็ถูกตับเปลี่ยนเป็นตัว Sulfanilamide ที่ตับ และตัวนี้แหละครับ มันพิฆาต เชื้อโรคโดยแท้จริง

จากตัวซัลฟานิลาไมด์ก็มีการค้นพบซัลฟาสูตรต่าง ๆ อีกมากมาย และฤทธิ์ก็ต่่าง ๆ กันด้วย เช่น ซัลฟาไพรีดิน Sulfapyridine รักษาโรคปอดบวม นิวมอเนีย ซัลฟาไทอาโซล Sulfathiazole แก้เชื้อโรคกระเพาะและลำไส้ ซัลฟาเมตโทซาโซล Sulfamethoxazole รักษาเชื้อโรคทางเดินปัสสาวะ Sulfadiazine แก้โรคท้องร่วง ชิเกโลซิส  ส่วนตัวซัลฟานิล สไมด์นั้น เดี๋ยวนี้เขาใช้รักษาโรคทางช่องคลอด นอกยังมีอีกตั้งมากมาย จำไม่ได้หมดครับ รวม ๆ แล้วมีถึง ห้าพันชนิด เลือกเอาเองก็แล้วกัน แล้วต่อจากนั้นก็ค้นพบยาเพนนิซิลลิน

เรื่องของ เพนนิซิลลิน

ผมขอเป็นคนเล่าเรื่องเพนนิซิลลิน เพราะมันมีเรื่องของความผิดความถูกอยู่ด้วย  ท่าน ผู้อ่าน ตัดสินเอาเองก็แล้วกัน

ใครเป็นผู้ค้นคว้าและสร้างตัวยา Penicillin รู้แล้วใช่ไหม ครับ Alexander Fleming ชาวอังกฤษ แต่ถูกแค่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ เรื่องมันผ่านมาแต่กาลนานแล้ว เมื่อปี 1940 แต่ขอ ขุดมาเล่าใหม่ ที่อยากเล่าก็เพราะเห็นแก่ความถูกต้อง จะยุติธรรมหรือไม่ก็แล้วแต่ เพราะมนุษย์มันยังบ้าแต่ชื่อเสียง ไม่ว่าตัวเองจะทำหรือเปล่า ขอให้เบียดเข้า ไปเอาชื่อใส่ แม้จะหลอกเขาชั่วคราว Few Minutes Fame (หรือถ่ายรูปกับคนดัง ยิ้มปากกว้าง เพื่อให้ได้รูปลงหนังสือพิมพ์บ่อย ๆ ) เมื่อเขาจับได้ก็เหม็นไปทั้งชาติ เมื่อความจริงถูกเปิดเผย

ผมถามคุณชัชวาลย์กองบรรณาธิการว่าพฤติการณ์อย่างนี้ ภาษาไทยเขาเรียกว่ายังไง เขา ให้เรียกว่าแหกตา ครับ ศัพท์เก่า ก็เหมือนเรื่องนี้แหละครับ เมื่อประเทศอังกฤษ พยายาม ด้วยความละอายเพื่อยัดเยียดให้ชาวอังกฤษให้ได้รับรางวาลโนเบล เพราะเป็น คนพบโดย บังเอิญ แล้วคนอื่นที่ทำการค้นคว้าแทบตายกลับเป็นรองที่สองและที่สาม

สาเหตุเพราะคนที่ค้นคว้าจริง ๆ เป็นเพียงชาวออสเตรเลีย และเยอรมัน ทั้ง ๆ ที่ทั้งสอง คนหลังนี้ทำการค้นคว้าหาตัวยาจริง ๆ จากเชื้อรา แล้วผลิตเป็นยาก็จริง ที่เขาไม่ได้เอ่ยชื่อ เป็นอันดับแรก(ทีแรกจะไม่ยอมให้ใส่ชื่อเขาเสียด้วยซ้ำไป) แม้เขาจะอยู่ในประเทศ อังกฤษ ตอนที่เขาช่วยค้นหาตัวยานี้ออกมา ก็เพราะเขาไม่ใช่เป็นชาวอังกฤษ  ชื่อเขาคือ Howard Florey เกิดในปี 1898 ทีเมือง Adelaide ออสเตรเลียตอนใต้ จบที่มหาวิทยาลัย ที่รัฐนี้ของ ออสเตรเลีย แล้วไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ที่อังกฤษ ้ปริญญาแพทย์ หมอ Florey นี่ตอนเด็ก ๆ ก็เป็นโรคปอดบวมเสียหลายครั้ง เกือบตาย โตขึ้นสุขภาพเลยไม่ค่อยดี เลี้ยงไม่โต เพราะผอมโซ เลยอดเป็นทหารไปรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เลยมาเอา ดีทาง การเรียนจนจบเป็นแพทย์

แต่เนื่องจากสุขภาพไม่ดีและไม่ค่อยมีเพื่อน เพราะไม่ได้เล่นกีฬาและสุงสิงกับใคร โตขึ้น นิสัยเลยชอบสันโดษ ไม่ค่อยมีเพื่อน และไม่ชอบสังคม เมื่อเป็นหมอก็เลือกที่จะเป็น หมอที่ทำ งานทางค้นคว้ามากกว่า โดยเฉพาะเรื่องยารักษาโรคติดเชื้อ Antibiotics เพราะตอนนั้น ที่ประเทศ เยอรมันนี และประเทศอังกฤษกำลังบ้าการค้นคว้าเรื่องยาฆ่าเชื้อ โดยเฉพาะยา ซัลฟาต่าง ๆ กัน นายเฟรมมิ่ง นั้นเป็นนักตรวจเชื้อโรค Bacteriologist ชาวอังกฤษ วันหนึ่ง แกเกิดสั่งขี้มูก แล้วขี้มูกไปแปะอยู่ในจานเพาะเชื้อแบคทีเรียPetri Disc สองสามวันต่อมาพบว่า เชื้อแบคทีเรียไม่ขึ้นตรงที่ขี้มูกแปะอยู่

อีกครั้งหนึ่งเขาเปิดฝาจานเพาะเชื้อแบคทีเรียทิ้งไว้ แล้วไปกินชา Tea Break ตามนิสัย ของชาวอังกฤษ พอดื่มน้ำชาเสร็จก็กลับมาทำต่อ หารู้ไม่ เกิดมีตัวอะไรลอยมาตกอยู่ในจาน คงเล็กมากดูไม่เห็นด้วยตาเปล่า พอสามสี่วัน เมื่อเปิดฝาจานดู ก็พบว่าจานที่เพาะเชื้อนั้น มีแบคทีเรียขึ้นไม่เต็มจาน เพราะมีราขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ ตรงไหนที่ราขึ้น เชื้อแบคทีเรียก็ไม่ขึ้น จากขี้มูกและเชื้อราที่งอกจากขนมปังที่ตกจากแขนเสื้อ ที่ทำให้แบคทีเรียไม่เจริญ

เขาเข้าใจว่าจุดตรงที่ไม่มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียนั้น เพราะมีน้ำย่อยเรียกว่า Lysozyme คือมันละลายเชื้อแบคทีเรียได้ ท่านก็พยายามหาตัวสารนี้จากตัวราและน้ำมูก ทำอยู่สักพัก ไม่เจออะไรก็เลยเลิกทำ แต่ไปลงในหนังสือวิทยาศาสตร์ให้เป็นเพียงข้อสังเกต เมื่อเอาเชื้อราไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางเชื้อราดู พบว่าเป็น Penicllium Notatum มันมาจากเชื้อรา ของขนมปัง เพราะท่านชอบเล่น Afternoon Tea Break อยู่เรื่อย ขนมปังที่ติดเชื้อราอาจตกจาก มือหรือ แขนเสื้อที่หยิบขนมปังติดอยู่ลงในจานเพาะเชื้อในแล็บก็ได้ แล้วโลกก็ลืมขี้มูก และเชื้อราของท่านไป ขณะเดียวกัน ตา Foley นี่ก็อยากรู้ว่าจะหาอะไรมารักษาโรคปอดบวม เพราะเคยเป็นโรคปอดบวมมาหลายครั้ง แต่ยมบาลท่านไม่ยอมเอาไป เพราะผอมเกินไป คงรอให้อ้วน ๆ หน่อยค่อยมาเก็บศพ

เมื่อไปอ่านวารสารวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับน้ำมูกและเชื้อราจากขนมปัง เหมือนเจอเพชร เลยครับ เลยเต้นจิ๊กบักรอบห้องทดลองหลายรอบจนเวียนหัว ก็ต้องนั่งลง แล้วเลยเริ่มต้น ค้นคว้า ก็รู้ว่าเป็นตัวเชื้อบัคทีเรียถูกกำจัดเพราะ Lysozymeอะไรชนิดหนึ่ง แหง ๆ แต่จะเอา มันออกมาได้อย่างไร นี่ซี่เป็นปัญหา ด้วยความรู้ทางเคมีที่จำกัด ก็เลยได้หาตายิวชื่อ Ernst Chain เกิดที่เยอรมันนี คนนี้คงเคยทำงานเกี่ยวกับ กาแฟผง เนสเล่ Nestle มาก่อน ซี่งโรงงาน อยู่ที่สวิส เลยรู้วิธี Freeze Dry เป็นกรรมวิธีเอากาแฟน้ำมาทำให้เป็นกาแฟผง ที่เมืองไทยเรา ก็เอามาทำบะหมี่มาม่า ยำยำแห้ง ชนิดห่อที่ผมกินเกือบทุกวัน เพราะราคามันถูกดี ตอน ออนเซล สี่ห่อหนึ่งเหรียญ 

นาย Chain ก็ใช้กรรมวิธี Freeze Dry นี้เขาได้เพาะเชื้อราไว้เยอะ ๆ แล้วทำการกลั่นแห้ง แยกเอากากออก ส่วนน้ำย่อยนั้นเป็นของเหลว ด้วยความเย็นมากก็กลายเป็นผลึกเย็น แบบ นี้ผลึกเย็นของ ตัวฆ่าเชื้อ ที่ออกมาจากเชื้อรา จะไม่เสียคุณภาพ จากผลึกเย็นนี่เขาก็เอาไป หยอด ลงบนกองแบคทีเรีีย ปรากฏว่าแบคทีเรียชนิดไหน ก็ตายเหลือแต่ซาก เนื่องด้วย ผลึกเย็นอุ่นหน่อย ก็กลายเป็นของเหลว คือน้ำย่อยฆ่า เชื้อโรคนี้่มันละลายเปลือกหุ้มชั้นนอก Cell Wall ของเชื้อแบคทีเรียจนไม่มีเปลือกข้างนอก เซลล์ก็แตกออกมาตากลม ก็ต้องตาย สนิท การฆ่าเชื้อแบบนี้เรียกว่า Bacteriocide เขาตั้งชื่อให้เรียกสารที่ฆ่าเชื้อโรคนี้ว่า Antibiotics แปลว่าตัวต่อต้านสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ

         ขอเล่าเรื่องการแพทย์นอกแผนหน่อย เพื่อความสนุกของผู้อ่าน ตอนผมหนุ่ม ๆ สมัย อยู่โรงเรียนแพทย์ก็ใกล้จะเป็นหมอแล้ว ภูมิใจมากว่าตัวเองเก่ง มีความรู้ดี วันหนึ่งเพื่อน ๆ ชวนไปเที่ยวถิ่นไม่ดี ก็เรียกว่าซ่องก็แล้วกัน ไปเป็นเพื่อนเขาหรอก ผมมันคนดี ไม่ชอบ เรื่องนี้อยู่แล้ว กลัวบาปครับ เพราะแม่สอนมาอย่างดี ระหว่างรอเพื่อนไปทำมิดีมิร้ายผู้หญิงอยู่ แมงดาหรือพ่อเล้าก็เข้ามาคุยเป็นเพื่อน ผม คิดว่าเขาคงเป็นคนคงแก่เรียนนะครับ แต่ไม่มี โอกาสเรียนแพทย์ หรือเขาอาจจะคิดว่าเรียนแพทย์มันเสียเวลา เป็นแมงดาได้เงินมากกว่า แถมสนุกด้วย ซึ่งก็เป็นความจริงนะครับ(ผมยังคิดเสียดาย ตอนนั้นหุ่นผมก็ดี หน้าตาก็พอใช้ได้ น่าจะหัดเรียนเป็นแมงดา จะมีอนาคตดีกว่าปัจจุบันนี้เสียอีก)

เขาบอกและสอนให้รู้ถึงวิธีป้องกันโรค เมื่อไปเที่ยวสถานอย่างนี้   "เฮีย! ถ้าจะเที่ยว นะครับ ควรต้องมีความรู้หน่อย ไม่งั้นจะติดโรคผู้หญิงได้ อ้ายโรคผู้หญิงนี้มันจำได้ง่าย มีอยู่สองอย่าง อย่างแรกเรียกว่าหนองเคล็ด อย่างนี้เกิดเพราะชอบเล่นท่าพิศดาร จนเครื่อง มันเคล็ดและช้ำ แล้วก็กลายเป็นหนองช้ำ อย่างนี้ต้องระวังตัว อย่าผาดโผน นักมันไม่ดี อย่าได้สามท่าสี่ท่า มันจะชอกชำ้เอา ไม่ดีนะ อย่างที่สองเกิดจากความสะอาด ของผู้หญิง คือผู้หญิงหลังเล่นกับผู้ชายแล้ว ไม่ล้างให้สะอาด คนต่อไปจะเป็นโรคเรียกว่า หนองเชื้อ แบบนี้ต้องใช้น้ำด่างทับทิมล้างให้สะอาดรับรองไม่เป็น ที่นี่ ผมสั่งสอนน้อง ๆ เขาให้ใช้น้ำด่างทับทิมอย่างดีเลย พี่ ๆ มาเที่ยวที่นี่รับรองเลย นอกเสียจากว่าพี่จะเล่น พิศดารจนเป็นหนองเคล็ดเท่านั้น ส่วนหนองเชื้อนั้นไม่มีทางหรอกครับ สำหรับน้อง ๆ ของผม”

      ผมและเพื่อน ๆ ก็ได้แต่มองหน้ากัน ทำไมอาจารย์ไม่สอนของง่าย ๆ อย่านี้ว้า ! ของกล้วย ๆ ต้องเรียนเสียเกือบสี่ห้าปี เรียนที่ซ่องสองนาทีก็รู้เรื่องดี แถมรู้ว่าน้ำด่าง ทับทิมรักษาโรค ผู้หญิงได้ด้วย

      เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองพบว่าเพนนิซิลลินนี่ใช้ฆ่าเชื้อโรคได้มากมาย เพราะมีสาร คล้าย Lysozyme อยู่มากมาย เลยสรุปว่า ของเหลวของเชื้อราที่ตั้งชื่อว่า Penicillin ตามชื่อของเชื้อรา เชื้อราจากธรรมชาตินี้ เป็นตัวยาสมุนไพรที่ใช้ได้ผลที่สุด สำหรับ เชื้อโรค เกือบทุกชนิด

      ตอนนั้นในปี 1938 ห่างจากสงครามโลกครั้งที่สองแค่ปีเดียว การค้นหาวิธีที่จะกลั่นของ เหลวเพนนิซิลลินให้เป็นตัวยาออกมาใช ้ก็คงหาไปเรื่อย ๆ อย่างไม่เร่งด่วน อุตส่าห์เพาะเชื้อ ราเกือบสามโอ่ง ผลิตยาเพนนิซิลลิน ออกมาได้แค่สองช้อนชา ยาที่ได้ก็เอาไปทดลองกับ หนูตะเภาที่ติดเชื้อก็ได้ผลดี แต่ทีนี้ใช้กับคนเล่า มันก็เสี่ยงหน่อย ผิดพลาดคนไข้ตาย จะพาลโดนจับติดคุกเสียอีก

      การทดลองกับมนุษย์คนแรก อุตริเป็นตำรวจเสียนี่ เป็นโรคตาอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus จนตาบอด และเริ่มลามไปทั่วหน้าและจะเข้าสมองด้วย อาการ่อแร่ ตำรวจนายนั้นก็ขอร้องให้ทดลอง ไหน ๆ ก็ต้องตายอยู่แล้ว ถ้าหายก็ดี  ยาเพนนิซิลลิน ที่ฉีดเข้าครั้งแรก อาการก็ดีขึ้นภายในสองวัน ซวยเป็นบ้าเลยสำหรับตาตำรวจคนนี้ ใช้ยาหมดในวันต่อมา อาการก็เลยทรุดลง แล้วก็ตายด้วยเชื้อโรค Streptococcus ในที่สุด คือว่ารายแรกและรายที่สองตาย คนที่สามเป็นเด็ก ตัวเล็กไม่ต้องใช้ยามากมาย เลยรอดมาได้

      เมื่อรู้แน่ ๆ ว่ายาตัวนี้ช่วยชีวิตได้จากเชื้อโรค และสงครามโลกกำลังดุเดือดในปี 1940 คนตายเพราะระเบิดและติดเชื้อโรคตายกันมากมาย แม้จะมียาปฏิชีวนะอย่างซัลฟา แต่ก็รักษาเชื้อโรคไม่ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะเชื้อโรคที่รุนแรงจากแผลเน่า โดยเชื้อโรค ตัว Staph & Streptococcus และประสิทธิภาพซัลฟาก็ไม่แรงพอ แถมเชื้อโรคดื้อยาตัวนี้ได้ง่าย ๆ ทางการอังกฤษเห็นความสำคัญของยา Penicillin ตัวนี้ เลยส่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ฝ่าดงเรือใต้น้ำของเยอรมันนีไปที่อเมริกา ไปพบนักเพาะเชื้อเห็ด เชื้อรา พบว่าน้ำจากการคั้น ข้าวโพดเพื่อนำไปทำแป้งข้าวโพด สามารถทำให้เชื้อราเพิ่มการเจริญ อย่างรวดเร็ว และมากมาย ทำให้สามารถเพาะเชื้อราเพนนิซิลลินออกมาเป็นอุตสาหกรรมได ้ในที่สุด และช่วยชีวิตทั้งทหารและพลเมืองได้มากมาย ที่ได้รับบาดเจ็บและติดเชื้อโรค ที่เคยตาย จากการติดเชื้อก็หายอย่างปฏิหาริย์  แรกเริ่มก็เป็นยาฉีด แล้วก็พยายามค้นจนทำแบบเม็ดได้

      ยาเม็ดแรกที่ผลิตออกมาเรียกว่า Penicillin G ถึงแม้จะผลิตได้จากวิธีธรรมชาติได้มาก แต่ก็ยังไม่พอกับเชื้อโรคที่เกิดจากบาดแผล ของสงคราม ด้วยการค้นคว้าอย่างหนัก เพื่อ จะทำเพนนิซิลลิน แบบสังเคราะห์ แล้วจากเพนนิซิลลิน จี นี้ เราก็ได้ เพนนิซิลลิน ห้าแสน ที่รุ่นปู่ย่าตายายเขารู้ดี เป็นจำนวนมาก และจากการค้นคว้า ได้ค้นพบว่า ที่แท้ตัวที่ฆ่า เชื้อแบคทีเรียมันอยู่ในโมเลกูลที่เรียกว่า เบต้า แลคแทม B-lactam (ไม่ใช่ Lysozyme) แล้วต่อมาก็สามารถที่จะทำเป็นแบบวิเคราะห์ได้ จาก เบต้า แลคแทมนี่แหละ เช่น Ampicillin , Amoxicillin และอีกมากมาย แล้วมีการเปลี่ยนแปลงสูตร ออกมาอีกมากมาย เมื่อเชื้อโรคเกิด การต้านทานจากตัวหนึ่ง ใช้ยาใหม่ก็จะได้ผล

       อ้ายตัวเชื้อโรคนี้นาน ๆ เข้ามันก็ปฏิวัติ Mutate สร้างเชื้อ B-lactamese ทำลายเพนนิซิลลิน นักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบราตัวใหม่ ที่ทำลายเชื้อโรคที่ต้านทาน เพนนิซิลลินได้ เรียกว่ากลุ่ม Cephalosporins จากการค้นพบ เชื้อราเพนนิซิลลิน จากนั้นก็ค้นได้ยาอีกมากมายจากราต่าง ๆ ชนิด เช่น อีริทโทไมซิน เช่น อีริทโทไมซิน Erythromycine, Streptomycine, Chloramphenicol, Tetracycline คงนับเป็นเกือบหมื่นชนิด เชิญเลือกเอาเองจากร้านอาตี๋ ถ้าอยู่เมืองไทย แต่ถ้าอยู่ที่นี่ ก็ต้องให้หมอสั่งเอาละครับ (เสียค่าหมอซิครับ)      

      อ่านตามที่บันทึกมา ให้ผู้อ่านตัดสินเอาเองว่าใครควรได้รางวํลโนเบล ก็ได้ทั้งสามคน แหละครับ แต่อังกฤษเขาก็เถียงว่า Alexander Fleming ต้องมา อันดับหนึ่ง เพราะเป็นชาว อังกฤษ แม้จะไม่ได้ทำอะไรมากเลย เพียงแต่แคะขี้มูก และลืมปิดฝาจานเพาะเชื้อ ก็แค่นั้น เองก็ได้ชื่อไปทั่วโลก ส่วนอีกสองคนค้นคว้า แทบตาย กลับไม่มีใครจำชื่อได้ ก็อย่าง นี้แหละครับ มนุษย์ขี้เหม็น ขอให้มีชื่อ เท่านั้น จะได้ออกทอล์คโชว์ ถูกจับความจริง ได้ทีหลังจะอายเขาหน่อยจะเป็นไรไป

 

 

                                            ABOUT US  |  EVENTS  |  NEWS  |  ALUMNI BOARD  |  WEBBOARD  |  CONTACT US

                                                  Copyright 2004 Chulalongkorn University Alumni Association of California